ประวัติ ของ วิทเยนทร์ มุตตามระ

การศึกษา

บทบาทด้านสิ่งแวดล้อม

จากการที่เป็นอดีตประธานชมรมผู้ประกอบการธุรกิจดำน้ำกรุงเทพฯ (BDOC) และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง และเป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิเพื่อทะเล ทำให้เมื่อประเทศไทยประสบภัยสึนามิเมื่อปลายปีพ.ศ. 2547 วิทเยนทร์ได้ประกาศรับอาสาสมัครนักดำน้ำมืออาชีพ เพื่อร่วมสำรวจความเสียหายของแนวปะการัง และเพื่อช่วยกันฟื้นฟูสภาพแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากสึนามิด้วย[3]

และจากบทบาทครั้งนั้น ทำให้วิทเยนทร์และมูลนิธิเพื่อทะเลได้มีบทบาทต่อเนื่องในเรื่องการทำปะการังเทียมบริเวณแหล่งดำน้ำของทะเลฝั่งอันดามัน ผ่านโครงการ “ฝูงบินปะการัง” โดยขอเครื่องบินปลดประจำการจากกองทัพอากาศจำนวน 10 ลำ มาจมเป็นปะการังเทียม[4]

นอกจากนี้ วิทเยนทร์และมูลนิธิเพื่อทะเลยังทำหน้าที่รณรงค์ให้ความรู้เพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล[5] ยังเป็นผู้ริเริ่มโครงการเยาวชนสัมผัสชีวิตใต้ท้องทะเลไทย เพื่อสอนเยาวชนให้เป็นนักดำน้ำและเรียนรู้ระบบนิเวศวิทยาทางทะเลด้วย

บทบาทด้านการเมือง

บทบาทด้านการช่วยเหลือผู้ประภัยน้ำท่วม

เมื่อเกิดน้ำท่วมในช่วงปลายปีพ.ศ. 2553 รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยขึ้น มีนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการศูนย์ โดยวิทเยนทร์เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ ทำหน้าที่ประสานงานกับองค์กรต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย รวมทั้งการรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์อุทกภัย[9]
ต่อมา นายอภิรักษ์ได้ลาออกจากตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 2 กรุงเทพมหานคร ทำให้ ครม.มีมติให้วิทเยนทร์ทำหน้าที่รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ไปตลอดจนมีการเลือกตั้งใหม่

บทบาทด้านสื่อมวลชน

เมื่อครั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วิทเยนทร์ได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ประสานงานสื่อมวลชน โดยมีบทบาทในช่วงรับมือวิกฤติการชุมนุมทางการเมืองในปี 2552 -2553 และเป็นทีมงานจัดรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์
หลังการเลือกตั้งในปีพ.ศ. 2554 วิทเยนทร์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ และเป็นผู้จัดรายการฟ้าวันใหม่ ร่วมกับนายถนอม อ่อนเกตุพล ด้วย
ต่อมาเมื่อเกิดวิกฤตการเมืองในปี 2556 - 2557 สถานีโทรทัศน์บลูสกายถูกระงับการออกอากาศไปนานถึง 3 เดือน ตามคำสั่ง กอ.รส.ฉบับที่ 6/2557 และประกาศ คสช.ฉบับที่ 15/2557 ก่อนจะกลับมาออกอากาศอีกครั้งในชื่อสถานีโทรทัศน์ฟ้าวันใหม่ โดยยังมีวิทเยนทร์เป็นผู้บริหารสถานีตามเดิม และรับหน้าที่ผู้จัดรายการฟ้าวันใหม่ สายตรงบลูสกาย และถอนพิษ

รางวัลที่เคยได้รับ